วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3     เวลา 12.20-15.00 น.

เข้าเรียน :12.30 น.     อาจารย์เข้าสอน:12.25 น.     เลิกเรียน:15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ
   กิจกรรมที่ 1 ทบทวนเพลงสำหรับเด็ก (อาจารย์ให้นักศึกษาปรบมือและร้องเพลงให้มีชีวิตชีวา)
   กิจกรรมที่ 2 เนื้อหาความรู้พื้นฐานวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ความแตกต่างระหว่างการศึกษาแบบเรียนร่วม และการศึกษาแบบเรียนรวม
     คือ การศึกษาแบบเรียนร่วม เด็กจะอยู่ในการควบคุมของศูนย์การศึกษาพิเศษหรือศูนย์เฉพาะทาง ประสานงานกับโรงเรียนเพื่อให้เด็กพิเศษมาเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนบ้าง โดยต้องดูว่าเด็กมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ส่วนการศึกษาแบบเรียนรวม โดยเด็กพิเศษจะมาเรียนในโรงเรียนตั้งแต่เริ่มเข้ามาศึกษาเล่าเรียนโดยผู้ปกครองเป็นผู้มาสมัครให้กับเด็ก.....
ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม (ใช้กันแบบสากล)
"Inclusive Education is Education for all,
  It involves receiving people
  at the beginning of their education,
  with provision of additional services
  needed by each individual"
"การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
การศึกษาแบบเรียนรวมควรเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
แต่ละบุคคลควรได้รับการช่วยเหลือให้เหมาะสมตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล"
การนำไปใช้
   การศึกษาแบบเรียนรวมคนที่เป็นครูหรือผู้ดุแลควรมีความเข้าใจในการศึกษาของเด็กพิเศษที่มีความสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล วิธีการสอนที่ดีคือให้เด็กปกติและเด็กพิเศษได้เรียนรู้ด้วยกันแบบการเรียนคู่ขนาน สอนให้เด็กทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน และเห็นใจกันและกัน ครูตระหนักว่าเด็กพิเศษสามารถสอนได้.....
การประเมิน
   ประเมินตนเอง
     มาเข้าเรียนสายเล็กน้อยแต่ก็ทันเวลาอาจารย์สอนเนื้อหาในวันนี้เนื่องจากพานางสาววรุญยุพาไปเปลี่ยนชุด^^ เงียบฟังอาจารย์และเก็บเกี่ยวความรู้ ซึ่งวิชานี้จะเน้นเนื้อหาที่ยาก ควรมีสมาธิในการเรียน
   ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจร้องเพลงมีการเตรียมตัวมาล่วงหน้าทำให้ร้องเพลงประสานเสียงได้ไพเราะมากจนอาจารย์ชม แต่เมื่อเรียนเข้าสู่เนื้อหาบางคนก็คุยกันขณะเรียนจนอาจารย์ต้องตักเตือนบางคนก็เงียบฟัง แต่บางคนก็หัวเราะต่อ ^^
   ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีคำศัพท์น่ารักๆ "ตบมือฟุ้งฟิ้ง ทำหน้าตามุ้งมิ้ง" อาจารย์มีความสนุกสนานในการสอนนักศึกษาพยายามพูดหลายๆภาษาถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาษาอีสาน ภาษาใต้ ภาษาเหน่นือ พูดได้น่ารักที่สุดเลยค่ะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น