วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี วันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8     เวลา:12.20-15.50น.

เข้าเรียน: -      อาจารย์เข้าสอน: -     เลิกเรียน: -

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาคเรียนที่2 ปี2558

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี วันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 7     เวลา 12.20-15.50น.

เข้าเรียน:11.30น.     อาจารย์เข้าสอน:12.20น.     เลิกเรียน:14.10น.
ความพิเศษของวันนี้
Happy Birth Day อาจารย์เบียร์
วันนี้ทำเต็มที่เป่าลูกโป่งจนปวดแก้มเลย
ความสุขสู่อาจารย์คนพิเศษ
     วันนี้เป็นวันที่มีความสุขมากๆค่ะ มารอทำเซอร์ไพส์อาจารย์ตั้งแต่11โมง เพลงก็ร้องไม่ค่อยเป็นแต่ก็พยายามหัดร้องจนเริ่มร้องได้ แถมเป่าลูกโป่งจนสุดพลังแก้มบวมกันไปเลยค่ะ ได้เห็นถึึงความตั้งใจของเพื่อนๆ ที่ช่วยกันทำเซอร์ไพส์ในวันนี้ ช่วยกันจัดห้องช่วยกันจัดอุปกรณ์ แถมยังส่งสายสืบไปรออาจารย์เบียร์อีก แบบว่าแต่ละคนจัดเต็มกันเลยทีเดียว พออาจารย์เบียร์เข้ามาทำตัวไม่ถูกเลยค่ะ ร้องเพลงให้อาจารย์เบียยร์ทำให้ร้องไห้ออกมาเลยด้วยความสุข เห็นอาจารย์มีความสุขเพื่อนๆมีความสุข พวกหนูไม่ได้ลืมน่ะค่ะแต่ยังวางแผนไม่ลงตัว ขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆนะค่ะเป็นที่รักของนักศึกษาไปนานๆ จะทำตามที่อาจารย์เบียร์บอกว่า ให้ตั้งใจเรียนของอาจารย์เบียร์ก็พออาจาารย์ไม่ได้ขออะไรมาก หนูจะทำให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆนะค่ะ ^^

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี วันที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6     เวลา:12.20-15.50 น.

เข้าเรียน:12.30 น.     อาจารย์เข้าสอน: 12.20 น.    เลิกเรียน:15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
    กิจกรรมที่ 1 มือนี้มีความหมาย
มือทั้งสองข้างที่มือซ้ายวาดจากการไม่เห็นมือ&มือขวาที่วาดจากมือจริง
เหมือนหรือไม่ ^^
สิ่งที่ได้จากการกิจกรรม
     ถึงแม้มือทั้งสองข้างของเราจะอยู่กับเรามา20ปี แต่เราก็ไม่สามารถจะวาดได้เหมือนมือจริงๆของเราก็เหมือนกับการบันทึกพฤติกรรมเด็กที่เมื่อเราเห็นเด็กทำพฤติกรรมเราควรที่จะบันทึกทันทีเพื่อความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการประเเมินพัฒนาการของเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กพิเศษ สังเกตและบันทึกพฤติกรรม อย่าใส่อารมณ์ เขียนเหตุการณ์ในบันทึกพฤติกรรม

กิจกรรมที่ 2 เนื้อหาการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
   การฝึกเพิ่มเติม
     - อบรมระยะสั้น สัมมนา
    - สื่อต่างๆ
   การเข้าใจภาวะปกติ
     - เด็กมักคล้ายคลึงมากกว่าแตกต่าง (พัฒนาการ,ระดับความสนใจ,การเรียน)
     - ครูต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก
     - รู้จักเด็กแต่ละคน
     - มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
   การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
     - การเข้าใจพัฒนาการเด็ก จะช่วยครุสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็ก และสามารถนำไปจัดกิจกรรมลำดับความสำคัญได้อย่างเหมาะสม
   ความพร้อมของเด็ก
     - วุฒิภาวะ (มีคล้ายๆกัน)
     - แรงจูงใจ (อาจจะแตกต่างกันอยู่ที่ครูเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ)
     - โอกาส (ขึ้นอยู่กับครู)
   การสอนโดยบังเอิญ
     - เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งดี
     - ครูพร้อมที่จะพบเด็ก
     - ครูมีความสนใจเด็ก
     - ครูมีความรู้สึกดีกับเด็ก
     - ครูมีอุปกรณ์ดึงดูดใจเด็ก
     - ครูมีความตั้งใจจริงในการช่วยเด็ก
     - ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก
   อุปกรณ์
     - มีลักษณะง่ายๆ
     - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
     - เด็ปกติเป็นตัวแบบของเด็กพิเศษและเด็กพิเศษจะได้รับความช่วยเหลือจากเด็กปกติ
   ตารางประจำวัน
     - เด็กพิเศษต้องคาดคะเนได้ว่าต้องทำกิจกรรมอย่างไร
     - กิจกรรมต้องเป็นระบบ
     - เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น
     - คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
ทัศนคติของครู
   1.ต้องมีความยืดหยุ่น (การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุด)
   2.การใช้สหวิทยาการ (ใจกว้างต่อคำแนะนำของอาชีพอื่นๆ)
   3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
   4.เด็กทุกคนสอนได้
   5.การให้แรงเสริม

กิจกรรมที่ 3 ร้องเพลง (ทบทวนเพลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา)
การนำไปใช้
     สามารถนำความรู้หรือแนวทางในการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษเมื่อเด็กทำพฤติกรรมนั้นควรบันทึกทันทีและ มีความเข้าใจในการสอนเด็กพิเศษมากขึ้น ยังสามารถนำการเสริมแรงในวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพยักหน้า การยิ้มรับและการเข้าไปกอด ไปพูดคุยกับเด็กพิเศษเพื่อเป็นการเสริมแรงในพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์เราก็สามารถนำวิธีการลดหรือหยุดพฤติกรรมนั้นไปใช้ได้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ
การประเมิน
   ประเมินตนเอง
     อาจเข้าเรียนช้าเล็กน้อยแต่ก็ทันเริ่มต้นเรียน และตอนทำกิจกรรมวาดภาพมือของตนเองก็เป็นกิจกรรมที่ท้าทายมาก ที่ทำให้รู้ว่าของบางอย่างอยู่กับเรามาตลอดชีวิตแต่เราก็ไม่เคยสนใจหรือจำรายละเอียดได้เลย !!
   ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆมีความสนุกสนานกับการกิจกรรมการวาดภาพมือที่เพื่อนๆต่างนึกภาพมือของตนเองและมีความสนใจในเรื่องของเนื้อหาและการตอบคำถามกับอาจารย์ ที่มาจากประสบการณ์ของตนเองที่ได้เรียนหรือรับรู้มา
   ประเมินอาจารย์
     อาจารย์น่ารักมากๆค่ะ อยากจะบอกว่า"สุขสันต์วันเกิดย้อนหลังนะค่ะ" อาจารย์มีการสอนนักศึกษาที่ไม่ได้ใช้เนื้อหาโดยตรงแต่จะเป็นการสอดแทรกเนื้อหาลงไปในกิจกรรมและมี การเล่าสู่กันฟังกับนักศึกษาพร้อมที่จะให้คำแนะนำและช่วยเหลือนักศึกษาเสมอ^^

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี วันที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 5     เวลา: 12.20-15.50น.

เข้าเรียน: -     อาจารย์เข้าสอน: -     เลิกเรียน : -
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลกรทาง    การศึกษา"วิกฤติหรือโอกาส..การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน"